วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ความหมายของทรัพยากร


1 สิ่งแวดล้อมคืออะไร
(สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา แบ่งเป็น  1. สิ่งมีชีวิต   2. สิ่งไม่มีชีวิต)
2 ทรัพยากรธรรมชาติคืออะไร
(สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้)
3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(ทรัพยากรธรรมชาติจัดเป็นผลผลิต หรือส่วนประกอบของสิ่งแวดล้อม 
ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากขาดทรัพยากรธรรมชาติ 
สิ่งแวดล้อมจะขาดความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย)

ทรัพยากรในท้องถิ่นของเรามีอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อเราอย่างไร
ดิน น้ำ สัตว์ป่า และแร่ มีประโยชน์ต่อเรา เช่น ใช้ดินในการเพาะปลูกพืช
ใช้น้ำในการดื่มกินแก้กระหาย ใช้สัตว์ป่าบางชนิดเพื่อทำงาน 
และใช้แร่ในกระบวนการผลิตสิ่งของเครื่องใช้)

กิจกรรม เรื่อง ทรัพยากรในท้องถิ่น
ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
  (ทรัพยากรในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง มีประโยชน์และโทษอย่างไร)
นักเรียนทราบหรือไม่ว่าทรัพยากรในท้องถิ่นของนักเรียนมีอะไรบ้าง
  (ดิน น้ำ แร่ สัตว์ป่า และป่าไม้)
ทรัพยากรดังกล่าวในแต่ละชนิดมีประโยชน์และโทษอย่างไร
  (ประโยชน์  ได้แก่  ดินใช้ในการเพาะปลูก น้ำใช้ในการชะล้างทำความสะอาด 
แร่นำมาทำเครื่องใช้ต่าง ๆ สัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหาร ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า 
แหล่งต้นน้ำ
    โทษ  ได้แก่ ดินถล่ม ขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม แร่ถ้าเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เกิดมลพิษทางอากาศ
สัตว์ป่าทำอันตรายต่อมนุษย์และพืชผล เกิดไฟป่า)
สรุปผลการทำกิจกรรม
ทรัพยากรในท้องถิ่นที่พบ เช่น แร่ สัตว์ป่า ดิน น้ำ ป่าไม้ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย คือ 
นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการยังชีพ ผลิตเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้าน 
ผลิตสินค้าเพื่อนำไปขายในตลาด รวมทั้งเป็นสินค้าส่งออก

1 ทรัพยากรในท้องถิ่นที่ศึกษามีอะไรบ้าง
(ดิน น้ำ แร่ สัตว์ป่า ป่าไม้)
2    ทรัพยากรในท้องถิ่นแต่ละชนิดมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร
(ประโยชน์ ได้แก่ ดิน ใช้เพาะปลูก ตั้งอาคารสถานที่ น้ำใช้ชะล้างทำความสะอาด
แร่ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับ สัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหาร และ
ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำ  
โทษ ได้แก่ ดินถล่ม น้ำท่วม มลพิษ ไฟป่า สัตว์ทำลายพืชผล
3  ผังมโนทัศน์เกี่ยวกับทรัพยากรในท้องถิ่นที่นักเรียนสร้างขึ้นเองนั้น
แตกต่างจากเพื่อนนักเรียนในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ อย่างไร 
(ไม่ต่างกัน เพราะอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จึงมีทรัพยากรท้องถิ่น   ที่เหมือนกัน)
4 นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องทรัพยากรในท้องถิ่นเพิ่มเติมจากเพื่อนนักเรียนในกลุ่มหรือไม่
(ได้รับเพิ่มเติมจากการสอบถาม พูดคุย และแสดงความคิดเห็น)
5 สรุปผลการทำกิจกรรมได้อย่างไร
(ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นมีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม
ในท้องถิ่นนั้น ๆ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ระมัดระวังจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตในท้องถิ่น)
6 ให้คาดคะเนว่าถ้าทรัพยากรในท้องถิ่นของเราถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง
จากสภาพเดิมจะเกิดผลอะไรตามมาบ้าง
(ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง ไม่เหมาะสำหรับการใช้เพาะปลูก และใช้ประโยชน์จากดิน
อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดน้ำเสีย ทำให้ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภค เกษตรกรรมและ
อุตสาหกรรม ทำให้ป่าลดลง ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ดินเสื่อมโทรม สัตว์ป่าและพืช
ไม่มีที่อยู่อาศัย ทำให้สัตว์ป่าลดลงและสูญพันธุ์)












1.     แสงอาทิตย์ อากาศ น้ำมัน เป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ เพราะเหตุใด 
(เป็นทรัพยากร- ธรรมชาติ  เพราะเป็นสิ่งรอบตัวเรา)
2.    ถ้านักเรียนใช้น้ำและต้นไม้หมดแล้ว ทำกลับให้เหมือนเดิมได้หรือไม่ อย่างไร 
(ไม่ได้ ต้องมีการสร้างทดแทนก่อนที่จะใช้จนหมด เพราะมิฉะนั้นสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ 
ที่เกี่ยวข้องก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย)
3.    ถ้านักเรียนใช้แร่และน้ำมันหมดแล้ว ทำกลับให้เหมือนเดิมได้หรือไม่ อย่างไร
(ไม่ได้    เพราะใช้แล้วหมดไป สร้างทดแทนไม่ได้)
4.    นักเรียนคิดว่าน้ำมันกับต้นไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างไร
(น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป แต่ต้นไม้เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถสร้างทดแทนได้)
5.    ทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียนคืออะไร 
(ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปแต่สร้างทดแทนได้)
6.    ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นคืออะไร
(ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปและสร้างทดแทนไม่ได้)
7.    เป็นไปได้หรือไม่ที่ทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียนจะกลายเป็นทรัพยากรสูญสิ้น เพราะเหตุใด
(เป็นไปได้ ถ้าไม่มีการสร้างทดแทน)
8.    ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ อย่างไร 
(เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหมุนเวียน)

1   สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา สิ่งใดบ้างเกิดเองตามธรรมชาติและสิ่งใดบ้างเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา
( ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดเองตามธรรมชาติบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน 
เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น)
2    ถ้าให้กำหนดเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติเอง นักเรียนจะจำแนกประเภทอย่างไร
( ทรัพยากรหมุนเวียน และทรัพยากรสูญสิ้น)
   ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 
(ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพยากรหมุนเวียน และทรัพยากรสูญสิ้น)

กิจกรรมเรื่อง ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง)
นักเรียนระบุความเหมือนและความต่างของทรัพยากรธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ได้หรือไม่เป็นอย่างไร
(ป่าไม้ ดิน แหล่งน้ำ สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรหมุนเวียน  แร่ น้ำมัน เป็นทรัพยากรสูญสิ้น)
3 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็นกี่ประเภท อย่างไร 
(2 ประเภท คือ ทรัพยากรหมุนเวียน และทรัพยากรสูญสิ้น)

1   ทรัพยากรในภาพ 1-9 เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
(ต่างกัน โดยเมื่อใช้การจำแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติเป็นเกณฑ์
สามารถแบ่งทรัพยากรออกได้ 2 ประเภท คือ ทรัพยากร-หมุนเวียน ได้แก่ 
น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทุ่งหญ้า แหล่งน้ำ ดิน และทรัพยากรสูญสิ้น คือ แร่ ถ่านหิน และน้ำมัน)
2    เกณฑ์ที่นักเรียนกำหนดขึ้นเองในการจำแนกประเภททรัพยากรธรรมชาติคืออะไร
(ประเภทของทรัพยากรที่มีชีวิต และทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต หรือตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน)
3    เมื่อใช้เกณฑ์ที่กำหนดให้ในการจำแนกประเภท ผลการจำแนกประเภท
แตกต่างจากการใช้เกณฑ์ที่นักเรียนกำหนดเองหรือไม่ อย่างไร 
(ต่างกัน โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภท แบ่งเป็น ทรัพยากรหมุนเวียน 
และทรัพยากรสูญสิ้น และเกณฑ์ที่นักเรียนกำหนด แบ่งเป็นทรัพยากรที่มีชีวิต และทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต)
4    จงระบุตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติประเภทสูญสิ้น
( แร่ ถ่านหิน และน้ำมัน)
5    จงระบุตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติประเภทหมุนเวียน
( น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทุ่งหญ้า แหล่งน้ำ และดิน)
6    จงสรุปผลการจำแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
(การจำแนกประเภททรัพยากรธรรมชาติโดยใช้เกณฑ์ในการนำทรัพยากรไปใช้ กล่าวคือ 
ทรัพยากรหมุนเวียน เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปแต่สร้างทดแทนได้ 
ส่วนทรัพยากรสูญสิ้นเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่มีการสร้างทดแทนได้)












1 ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
(สัมพันธ์กัน โดยป่าไม้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยความชื้น เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เป็นต้นน้ำลำธาร
ดินมีความสัมพันธ์ต่อ พืชในป่า เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และพืช 
ดินนอกจากอุดมด้วยธาตุอาหาร ซึ่งเป็นอาหารของพืชแล้ว ภายใต้พื้นแผ่นดินใหญ่
ยังพบแร่ชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย)
2 ทรัพยากรดังกล่าวจัดเป็นทรัพยากรประเภทใด เพราะเหตุใด 
(ทรัพยากรหมุนเวียน เพราะเป็นทรัพยากรที่ใช้หมดแต่สร้างทดแทนได้)
3 นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวว่า มนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรหมดไปหรือไม่ 
(เห็นด้วย เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย โดยไม่คิดสร้างทดแทน
จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง และอาจหมดไปได้ในที่สุด)
4 มนุษย์สามารถเป็นนักพัฒนาทรัพยากรได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(ได้ เพราะมนุษย์มีความฉลาดปราดเปรื่อง มีความสามารถในการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ 
เพื่อความสะดวกสบายของตนเองได้ ก็น่าจะสามารถพัฒนาทรัพยากรให้คงอยู่หรือเพิ่มพูนขึ้น
เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลและอุดมสมบูรณ์ได้เช่นกัน)
5 มนุษย์ใช้ทรัพยากรอะไรบ้างในการดำรงชีวิต
(ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่)
6 มนุษย์ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดหรือฟุ่มเฟือย 
(ฟุ่มเฟือย เช่น การตัดไม้ทำลายป่าโดยไม่ปลูกทดแทน
การลักลอบฆ่าสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์การใช้น้ำมันอย่างสิ้นเปลืองจนเกิดวิกฤติพลังงาน)

กิจกรรมเรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์

1   ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(การใช้ทรัพยากรของมนุษย์ทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ อย่างไร)
2    ทรัพยากรชนิดต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่  มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน)    

1    ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร 
(มีความสัมพันธ์ในแบบ  พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดของน้ำ 
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งที่มีแร่ ดินจะอุดมสมบูรณ์ได้ก็เนื่องจากป่าไม้และแหล่งน้ำ
สัตว์ป่าจะมีชีวิตอยู่รอดได้ก็ต้องอาศัยอาหารจากป่าและทั้งจากแหล่งน้ำต่าง ๆ)
2    ทรัพยากรชนิดใดมีความสำคัญที่สุด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
(ป่าไม้ เพราะป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด)
3    ทรัพยากรใดถ้าไม่ใช้อย่างระมัดระวัง สามารถสูญสิ้นได้ และให้เหตุผลประกอบ
(แร่ และน้ำมัน เพราะเราไม่สามารถสร้างทดแทนได้)
4    ในการใช้ทรัพยากรชนิดต่าง ๆ มีการใช้ทรัพยากรชนิดใดบ้างที่ไม่เป็นปัญหาเลย
(ไม่มี)
5    การใช้ทรัพยากรชนิดใดเป็นปัญหามากที่สุด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
(ป่าไม้ เพราะในปัจจุบันมีการทำลายป่ากันมากขึ้น โดยไม่ปลูกทดแทน 
ทำให้สูญเสียระบบนิเวศที่สมบูรณ์ไป)
6    สรุปผลการทำกิจกรรมได้อย่างไร
(ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในรูปแบบที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็อาจเกิดผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่ได้)















กิจกรรมเรื่อง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1  ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร  
(การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีวิธีการอย่างไรบ้าง)
2    นักเรียนจะมีวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดได้หรือไม่ อย่างไร
(การใช้ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ อย่างประหยัด คุ้มค่าและมีประโยชน์ให้ได้ยาวนานที่สุด)
นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะทำได้อย่างไร  
(การใช้น้ำอย่างประหยัด ป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำ การนำทรัพยากรทุกชนิดกลับมาใช้ใหม่ 
เพื่อลดการทำลาย-ทรัพยากร และลดขยะมูลฝอย)

1   ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหากับทรัพยากรคืออะไรบ้าง และอะไรเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุด
(มนุษย์มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น จนเกิดปัญหาดังกล่าว)
2    กิจกรรมหรือการปฏิบัติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรแต่ละชนิดเหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร
(เหมือนกัน คือ มีการรณรงค์ให้ประหยัด และการสร้างจิตสำนึกในการใช้อย่างคุ้มค่า และถูกวิธี)
3    การอนุรักษ์ทรัพยากรหมายถึงอะไร
(การนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้ได้เวลายาวนานที่สุด และสูญเสียทรัพยากรอย่างเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด)
4    การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(มีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า 
ดินช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้)
5    การอนุรักษ์ทรัพยากรที่เสนอนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
(มีความเป็นไปได้มากขึ้น เพราะว่าทรัพยากรมีจำนวนลดลง และรัฐบาลมีการส่งเสริมและรณรงค์
ให้ประชาชนช่วยกันอนุรักษ์ และใช้อย่างประหยัด และคุ้มค่า)
6    สรุปผลการทำกิจกรรมได้อย่างไร
(การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ประหยัดและคุ้มค่า และต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยาวนานและคุ้มค่า  ในการดำรงชีวิต และพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดไป)

        การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติหมายถึงอะไร
(การสร้างหรือการทำให้ทรัพยากรมีมากขึ้น เช่น การปลูกป่าทดแทน)
       การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างฉลาดหมายถึงอะไร
(การใช้ประโยชน์นั้นจะต้องเกิดผลดีต่อประชากรโลกส่วนรวมมากที่สุด 
จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์ให้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ให้มีการสูญเสียทรัพยากร
อย่างเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด และต้องกระจายการใช้ประโยชน์แก่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึงกัน)














กิจกรรมเรื่อง บันทึกการปฏิบัติการอนุรักษ์ทรัพยากร 

1    ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร 
(การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทำได้อย่างไร)
2    นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้หรือไม่ อย่างไร
(ได้  โดยใช้สินค้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ และใช้น้ำอย่างประหยัด)
3    นักเรียนมีวิธีการชักชวนคนในชุมชนให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร 
(การชักชวนให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของทรัพยากร และ
สร้างค่านิยมให้สนใจและตั้งใจที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างจริงจัง)

1     เรื่องราวเหตุการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้มาจากแหล่งใด 
เหตุการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับใครบ้าง เขาทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร 
(เว็บไซต์ต่าง ๆ หนังสือพิมพ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาป่าไม้ด้วยการปลูกป่า
และไม่ตัดไม้ทำลายป่า ขึ้นอยู่กับผลการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน)
2    ถ้าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเองปฏิบัติเองนั้น นักเรียนมีความภูมิใจอย่างไร 
(ภูมิใจ เพราะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์)
3    ผลงานของนักเรียนมีความเหมือนหรือแตกต่างจากผลงานของเพื่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด
(เหมือนกัน เพราะว่าป่าไม้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า)
4    เพื่อน ๆ นำเสนอการอนุรักษ์ทรัพยากรชนิดใดมากที่สุด ชนิดใดน้อยที่สุด เพราะเหตุใด 
(แล้วแต่การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าในชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
5    ให้ประเมินเหตุการณ์ที่นักเรียนปฏิบัติเอง ว่าสมควรส่งไปลงข่าวในหนังสือพิมพ์หรือไม่ 
เพราะเหตุใด 
(ควร เพราะว่าจะทำให้คนอื่น ๆ ตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ)
6    ในบ้านเราการอนุรักษ์ทรัพยากรใดที่มักถูกปล่อยปละละเลยจนปัจจุบันเกิดสภาพ
เสื่อมโทรมและสาเหตุที่เกิดนั้นคืออะไร 
(ทรัพยากรป่าไม้ และน้ำในแหล่งน้ำ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำเน่าเสีย 
สาเหตุเกิดมาจากมนุษย์ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และมีความมักง่าย ขาดความรับผิดชอบ)
7    สรุปผลการทำกิจกรรมได้อย่างไร 
(การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรร่วมมือกันดูแลทรัพยากรที่ยังคงเหลืออยู่
และช่วยกันบำรุงรักษาให้ดีขึ้น เพื่อเราจะได้มีทรัพยากรไว้ใช้ประโยชน์ได้นานขึ้น และคุ้มค่าที่สุด)


1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมหมายความว่าอย่างไร
(ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีสภาวะเป็นพิษ 
อันเป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช ทั้งต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิต)
2  ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้แก่อะไรบ้าง
(อากาศเสีย น้ำเสีย เสียงเป็นพิษ ดินเป็นพิษ)







1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนเห็นในภาพเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องใด
( ภาพที่ 1  ปัญหาน้ำเสีย  ภาพที่ 2  ปัญหาอากาศเสีย)
2  นักเรียนเห็นสภาพแวดล้อมเป็นพิษแล้วรู้สึกอย่างไร
( รู้สึกแย่  สกปรก  สุขภาพจิตไม่ดี)
3  นักเรียนคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสิ่งใด
(ปัญหาน้ำเสียเกิดจากคนทิ้งขยะและโรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ)
4  นักเรียนคิดว่าถ้าในชุมชนของนักเรียนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว 
นักเรียนจะมี  แนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
(ถ้าในชุมชนเกิดปัญหาน้ำเสีย คงต้องรวมกลุ่มและร่วมกันรณรงค์ไม่ให้คนในชุมชนทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ
และถ้าในชุมชนเกิดปัญหาอากาศเป็นพิษ คงต้องรวมกลุ่มกันแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและ
ทางโรงงานให้มีการติดตั้งระบบบำบัด/กำจัดแก๊ส และฝุ่นละอองก่อนปล่อยออกนอกโรงงาน)















กิจกรรมเรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของเรา

1  ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(ในชุมชนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร  และมีวิธีการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น อย่างไร)
2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ในชุมชนของนักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร
(ในชุมชนมีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาน้ำเสีย โดยเกิดจากการทิ้งขยะ 
และปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่แหล่งน้ำ ขึ้นอยู่กับลักษณะชุมชนของนักเรียน)
นักเรียนคิดว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนคืออะไร 
(คนในชุมชนไม่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว
จะส่งผลเสียต่อตนเอง หรือต่อส่วนรวมอย่างไรบ้าง)

1  ในชุมชนพบปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร
(พบปัญหาน้ำเสีย)
2   ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติใด
(น้ำ)
3  สภาพปัญหาที่พบมีมากหรือน้อยอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร
(สภาพปัญหาที่พบมาก มีสาเหตุจากการทิ้งขยะและน้ำเสียจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำ)
4  วิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบมีอะไรบ้าง มีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ อย่างไร
(ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำ มีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา 
โดยถ้าไม่มีการทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำสะอาด)
5  ตามความเห็นของนักเรียน สาเหตุสำคัญที่สุดที่พบในชุมชนคืออะไร
(การทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ)
6  ในชุมชนมีวิธีการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร
(ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำ)
7  แผนที่กำหนดขึ้น ใครบ้างมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
(ประชาชนและหน่วยงานราชการ)
8  ให้คาดคะเนว่าจะใช้เวลาแก้ปัญหานานเพียงใดจึงสำเร็จ
(3 ปี)
9    คนในชุมชนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาหรือไม่ 
จะมีวิธีชักชวนคนในชุมชนอย่างไร
(ทุกคนในชุมชนมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหา โดยการชักชวนและอธิบายให้เห็นผลกระทบของปัญหา
และสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม)
10  ถ้าทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนแล้ว 
นักเรียนลองจินตนาการสภาพของชุมชนนั้น  
(ถ้าทุกคนช่วยกันแก้ปัญหาแล้วจะทำให้ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อยและน่าอยู่)
11  สรุปผลการทำกิจกรรมได้อย่างไร  
(ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี)





















 ให้ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแล้วเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(การเผาขยะโดยเครื่องเผาขยะ  แต่ไม่มีระบบบำบัดควันที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม
ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ)
2  “การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มีทั้งประโยชน์มหาศาลและโทษมหันต์ต่อโลกของเรา” 
นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบให้เข้าใจ  
(เห็นด้วย เนื่องจากถ้ามีการใช้เทคโนโลยีในทางที่สร้างสรรค์ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ 
และถ้าใช้ในการทำลายก็จะทำให้เกิดโทษ  เช่น การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 
ถ้ามีการใช้อย่างระมัดระวังก็จะทำให้ ได้พลังงานมากมาย เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีอย่างไม่จำกัด 
แต่ถ้ามีการรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม ก็จะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ  มากมาย 
และทำให้เกิดโรคทั้งต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช)

ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์และรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
“การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ 
การอนุรักษ์และรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนควรได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และต้องเป็นความรับผิดชอบของทุกคน”

กิจกรรมเรื่อง ผลของการบริโภคและอุปโภคของประชาชนไทยอย่างฟุ่มเฟือย

1   ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(ประชาชนไทยมีการบริโภคและอุปโภคอย่างฟุ่มเฟือยอย่างไร)
2  คนไทยมีการบริโภคและอุปโภคสิ่งใดอย่างฟุ่มเฟือยอันเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
และ ต่อชีวิตประจำวัน  
(ป่าไม้ น้ำ น้ำมัน แร่)
3  นักเรียนจะมีวิธีแก้ไขป้องกันผลเสียที่เกิดจากการบริโภคและอุปโภคสิ่งต่าง ๆ  
อย่างฟุ่มเฟือยได้หรือไม่ อย่างไร  
(ทุกคนร่วมมือกันดูแลรักษา และสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพดีขึ้น)

1  คนไทยบริโภคสิ่งใดฟุ่มเฟือยแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่
(ป่าไม้ น้ำ แร่ และพลังงาน)
2  คนไทยอุปโภคสิ่งใดฟุ่มเฟือยแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ 
(ดิน และแร่)
3  ผลเสียที่เกิดจากการบริโภคและอุปโภคอย่างฟุ่มเฟือยมีอะไรบ้าง 



4   ปัญหาสำคัญที่เกิดจากการอุปโภคและบริโภคสิ่งต่าง ๆ อย่างฟุ่มเฟือย คืออะไร 
(เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ทรัพยากรแร่ลดลง ตลอดจนความเสื่อมโทรมของน้ำและอากาศ)
5  วิธีที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น คืออะไร
(กระตุ้นให้มีการรณรงค์ รักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ 
หรือหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม)
6  ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างจากเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ หรือไม่ อย่างไร
(เหมือนกัน เพราะปัญหาดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่าง ๆ  ของคนในชุมชน 
และมีผลกระทบต่อคนในชุมชน)
7  วิธีแก้ปัญหาและป้องกันวิธีใดน่าจะเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่สุด
(ให้ความรู้และรณรงค์ให้ช่วยกันดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อม)

กิจกรรมเรื่อง การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

1   ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร 
(การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนคืออะไร)
2  ในชุมชนที่นักเรียนอยู่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และมีปัญหาอะไรบ้าง   
(มี คือ น้ำในลำคลองสกปรก ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นเหม็น สัตว์ป่าถูกทำลาย 
อากาศไม่บริสุทธิ์ แห้งแล้ง)
3  นักเรียนคิดว่าปัญหาดังกล่าวสามารถแก้หรือลดให้น้อยลงได้หรือไม่
และควรทำอย่างไร
(สามารถแก้ปัญหาได้ แม้จะใช้เวลา โดยวางแผนให้ประชากร หรือชุมชนช่วยกัน
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และรักษาให้คงสภาพที่ดีตลอดไป)

1  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาพคืออะไร 
(ปัญหาน้ำเน่าเสีย)
2  อะไรเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  
(การทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ)
3  นักเรียนจะมีวิธีรักษาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวไม่ให้เกิดปัญหาได้หรือไม่   
(ได้ โดยทุกคนต้องร่วมมือกันไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ และที่อื่น ๆ)
4  จงสรุปผลวิธีการส่งเสริมให้ดูแลสิ่งแวดล้อมนั้น  
(การรักษาสิ่งแวดล้อม  ทุกคนต้องร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด 
และให้คุ้มค่า และสร้างจิตสำนึกในการรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติ)

กิจกรรมเรื่อง การพันาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (2)

1  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาพคืออะไร 
(ขยะมูลฝอย)
2  นักเรียนจะมีวิธีดูแลรักษาให้สิ่งแวดล้อมที่สังเกตได้ มีสภาพดีขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร
(ทิ้งขยะลงในที่รองรับขยะ นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เลือกใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ)
3  จงสรุปผลแนวทางต่าง ๆ หรือวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  
(เลือกใช้สินค้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ นำวัสดุมารีไซเคิล และแยกขยะก่อนทิ้ง)
4  ถ้าจะไม่ทำให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมหรือเกิดขึ้นน้อยมาก ไม่รุนแรง 
นักเรียนคิดว่าการให้การศึกษาแก่ประชาชน บุคคลทั่วไป สามารถแก้ไขได้หรือไม่ เพราะเหตุใด  
(ถ้าให้การศึกษาแก่ทุกคน จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะทำให้ประชาชนรู้จักผลิตและ
ใช้สอยอย่างฉลาด รับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการไม่ทำลาย)
5  การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนคืออะไร  
(การรู้จักใช้สิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธีและประหยัดและทำให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพดีขึ้น 
หรือคงอยู่อย่างสมดุล)
6  หลักการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมีอะไรบ้าง
(การป้องกันและวิธีการรักษา)















กิจกรรมเรื่อง สำรวจสภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 1   ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(ในท้องถิ่นมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร)
2   เศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดของนักเรียนมีความหมายว่าอย่างไร
(ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิต
ให้ปฏิบัติตนและดำเนินไปในทางสายกลาง)
3  ความพอเพียงตามความคิดของนักเรียนมีลักษณะอย่างไร
(ความพอดี พอประมาณ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป)
 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีอะไรบ้างที่เป็นไปตาม
แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
(การใช้น้ำในคลอง การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำประปา)

1  เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
(ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิต
แก่พสกนิกรชาวไทย ให้ประชาชนปฏิบัติตนและดำเนินไปในทางสายกลาง)
2  ความพอเพียงมีความหมายว่าอย่างไร
(ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความมีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีพอสมควร
ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน โดยใช้ความรอบรู้ ความรอบคอบ 
ความระมัดระวังในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ
ให้มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันอดทน สติปัญญา และแบ่งปัน)
3  ลักษณะความพอเพียงมีอะไรบ้าง
(ความพอเพียงประกอบด้วย  3 ลักษณะ คือ
- ความพอประมาณ  หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
- ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงอย่างมีเหตุผล 
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ 
อย่างรอบคอบ
- การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ 
ที่อาจเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต)
4  เงื่อนไขที่สำคัญสำหรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
(- เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน 
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและ
ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
- เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต 
และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต)
5  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่ศึกษาที่เป็นและไม่เป็นไปตามแนว
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง  
(การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไปตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้น้ำในคลอง
และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็นไปตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้กระดาษ)
6  นักเรียนใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาตัดสินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไป
ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
(3 ห่วง 2 เงื่อนไข)






กิจกรรมเรื่อง การพัฒนาสิ่งแวดล้อม












1  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
(การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอประมาณ ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป ใช้เท่าที่จำเป็น)
2  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์  อย่างไร
   (ทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็น ทำให้มีทรัพยากรใช้ในอนาคต)อย่างยั่งยืน


กิจกรรมเรื่อง ศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1  ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(การใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร)
2  แหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนศึกษาคืออะไร  
(หน่วยงานระบายน้ำ  สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร)
3  วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้คืออะไร  
(ศึกษาการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ-พอเพียงมาปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ)

บันทึกผลการทำกิจกรรม 












1  นักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากแหล่งเรียนรู้
ที่ศึกษาว่าเป็นไปตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่  
(3 ห่วง 2 เงื่อนไข)
2  จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ จงอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
(การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้  3  ห่วง  คือ 
ห่วงที่ 1   พอประมาณ คือ มีการวางแผนการใช้น้ำในแต่ละวันให้มีประสิทธิภาพ 
และวางโครงการอนุรักษ์น้ำ โดยใช้ผักตบชวา การเก็บขยะในคลอง
ห่วงที่ 2   มีเหตุผล  คือ มีความเข้าใจปัญหาการใช้น้ำของท้องถิ่น 
และเลือกจัดทำโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ
ห่วงที่ 3  มีภูมิคุ้มกัน  คือ  มีความตระหนักถึงความสำคัญในการใช้น้ำในคลอง 
2 เงื่อนไข คือ   
เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรู้ในเรื่องวิธีการอนุรักษ์น้ำ ชีววิทยา นิเวศวิทยา
เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี  ความอดทน การแบ่งปัน)
3    การใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถ
ปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ  นอกเหนือจากแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนศึกษาได้หรือไม่ 
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ  
(สามารถนำการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ได้ เช่น การใช้ทรัพยากรป่าไม้ การใช้เชื้อเพลิง)

กิจกรรมเรื่อง วางแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1  ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(การใช้ทรัพยากรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำได้อย่างไร)
2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าทรัพยากรในโรงเรียนมีอะไรบ้าง
( ไฟฟ้า น้ำประปา กระดาษเอกสาร กระดาษชำระ ขวดน้ำพลาสติก)
3  การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ มากเกินความจำเป็นจะส่งผลอย่างไร
(ขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต สร้างมลภาวะแก่สภาพแวดล้อม)
4  การใช้แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการใช้ทรัพยากรมีประโยชน์อย่างไร 
(รู้จักการเลือกใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ประหยัดทรัพยากร อนุรักษ์ทรัพยากร)

บันทึกผลการทำกิจกรรม













แผนการใช้ถุงพลาสติกตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                    1.     ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก โดยการ
                            1.1    ใช้ถุงพลาสติกเท่าที่จำเป็น
                            1.2    ใช้ถุงพลาสติกซ้ำ
                            1.3    ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
                    2.     แยกขยะพลาสติก โดยการ
                            2.1    จัดภาชนะสำหรับพลาสติก
                            2.2  แยกขยะพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
                    3.     จัดตั้งชมรมรณรงค์แยกขยะพลาสติกในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่
                            3.1    รณรงค์การลดใช้ขยะพลาสติก
                            3.2    รณรงค์การแยกขยะ
                            3.3    จัดตั้งธนาคารขยะพลาสติก)

1  ทรัพยากรภายในโรงเรียนที่ศึกษามีอะไรบ้าง
( ไฟฟ้า น้ำประปา กระดาษเอกสาร กระดาษชำระ ขวดน้ำพลาสติก)
2  การนำเสนอแผนการใช้ทรัพยากร โดยยึดแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน 
แตกต่างจากเพื่อนนักเรียนในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ อย่างไร  
(ไม่แตกต่างกัน เพราะเป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรชนิดเดียวกัน และภายในโรงเรียนเดียวกัน)
นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร โดยยึดแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จากเพื่อนนักเรียนในกลุ่มหรือไม่ อย่างไร  
(ได้เรียนรู้เพิ่มเติม จากการอภิปรายภายในกลุ่ม)
4  การใช้แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการใช้ทรัพยากรมีประโยชน์อย่างไร
(1.  รู้จักการพิจารณาเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุผล
 2.  ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น
 3.  ประหยัดทรัพยากร
 4.  ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า)
 5  สรุปผลการทำกิจกรรมนี้ได้อย่างไร
(การใช้ทรัพยากรโดยยึดแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องคำนึงถึง
ความพอประมาณและความมีเหตุในการใช้ทรัพยากร โดยมีความรู้และคุณธรรม
เป็นเครื่องกำกับ เพื่อให้สามารถเลือกและใช้ทรัพยากรตามความจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย
และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หรือไม่ก่อให้เกิดโทษจากการใช้ทรัพยากรมากจนเกินไป)
6  ถ้านักเรียนสามารถดำเนินการตามแผนการใช้ทรัพยากรที่ศึกษาตาม
แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร
(มีทรัพยากรใช้เพียงพอในอนาคต ไม่เกิดปัญหาจากการใช้ทรัพยากรมากเกินไป)